บลูทูธ

บลูทูธ

เทคโนโลยีไร้สาย “บลูทูธ” ที่ได้รับความนิยมตลอดกาล

สำหรับ เทคโนโลยี ไร้ สาย ที่มีการใช้งานกันมาอย่างยาวนาน บอกเลยว่าต้องไม่ลืมเทคโนโลยีตัวนี้อย่างแน่นอน เพราะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเทคโนโลยีตัวนี้ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความเสถียรของสัญญาณและการรับส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ถึงแม้จะเป็นการเชื่อมต่อระยะสั้นๆและเป็นระยะทางที่จำกัด แต่บลูทูธก็มีประโยชน์อย่างมากมายไม่ว่าจะในวงการโทรศัพท์มือถือหรือจะเป็นวงการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็มีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย อาทิ ลำโพงบลูทูธ หูฟังทลูทูธ เป็นต้น

บลูทูธ คือ อะไร ?

bluetooth คือ การสื่อสารแบบไร้สายของอุปกรณ์สองอย่าง โดยใช้ คลื่นวิทยุ uhf แบบระยะสั้นความถี่ GHz. ในการเชื่อมต่อข้อมูลหรืออุปกรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลหรือสายแลนใดๆเพื่อการเชื่อมต่อ บลูทูธ จะเป็นการเชื่อมต่อสัญญาณแบบระยะทางสั้นๆไม่ไกลกันมาก โดยเน้นใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ หูฟังไร้สาย คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น เทคโนโลยี Bluetooth ทํางานที่ความถี่วิทยุในช่วง 2.4 GHz มาตรฐาน Bluetooth โดยที่กําลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้

  • Bluetooth Classic ซึ่งรองรับอัตราข้อมูลที่แตกต่างกัน 2 อัตรา คือ Basic Rate (BR) และ Enhanced Data Rate (edr)
  • Bluetooth Low Energy (LE) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำ ถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานแบตเตอรี่
บลูทูธ

ที่มาของเทคโนโลยีบลูทูธ

ชื่อ ” Bluetooth ” ถูกใช้ในเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบเดียวกัน เพื่อให้สร้างความเข้าใจและสอดคล้องกัน ในทางเทคนิค, บลูทูธถูกพัฒนาโดยบริษัท Ericsson ในปีค.ศ. 1994 ก่อนที่ในอีกหลายปีต่อมาจะมีเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในยุคสมัยนั้น อาทิ Nokia Intel Toshiba และ IBM เข้ามาร่วมในการวิจัยและพัฒนาสัญญาณบลูทูธในการใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

และหลังจากในปีค.ศ.1999 ทางกลุ่มบริษัทที่ร่วมวิจัยและพัฒนา บลูทูธโทรศัพท์ และบลูทูธ ที่สามารถใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ มีการเชิญชวนให้บริษัทอื่นๆเข้าร่วมกัน โดยให้นำเทคโนโลยีบลูทูธไปใช้ เพื่อเผยแพร่ Bluetooth 1.0 ออกมาเพื่อให้นำไปใช้งานกันได้อย่างง่ายดาย โดยทางบริษัทที่เข้าร่วมในช่วงแรกได้แก่ Motorola,Microsoft เป็นต้น

ทำไมถึงใช้ชื่อว่าบลูทูธ ?

ถือว่าเป็นเกร็ดความรู้เพราะการตั้งว่า “บลูทูธ” มีที่มาจากกษัตริย์ของเดนมาร์กและนอร์เวย์มีชื่อว่า Harald “Bluetooth” Gormsson ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรวบรวมดินแดนในแถบสแกนดิเนเวีย โดยอาศัยการเปรียบเทียบว่าเทคโนโลยีนี้จะรวมอุปกรณ์แบบเดียวกับที่กษัตริย์ได้ รวมชนเผ่าต่างๆในเดนมาร์กให้เป็นอาณาจักรเดียวอีกทั้งยังเป็นผู้ที่นำเข้าศาสนาคริสต์อีกด้วย จึงได้มีการนำชื่อของกษัตริย์องค์นี้มาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อ เพราะเหล่าประเทศที่เริ่มต้นในการวิจัยและพัฒนาสัญญาณก็อยู่ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย และบลูทูธมีตัวย่อมาจาก H ( ᚼ ) และ B ( ᛒ ) เป็นสองสัมอักษรผสมกัน จนได้มาเป็นสัญลักษณ์บลูทูธในปัจจุบันนั่นเอง

หลักการทำงานของ Bluetooth

อย่างที่เราทราบกันดีว่าบลูทูธเป็นการใช้คลื่นความถี่ระยะสั้น โดยอาจจะมีระยะแค่เพียง 30 ฟุตเท่านั้น โดยเราจะมาอธิบายหลักการทำงานให้เข้าใจง่ายๆเป็นข้อๆดังนี้

  1. เมื่อ ค้นหาบลูทูธ แล้วจะเริ่มต้นการจับคู่ของอุปกรณ์ โดยจะมีใส่รหัสความปลอดภัยต่างๆลงในอุปกรณ์หนึ่งหรือยืนยันการเชื่อมต่อ
  2. เมื่อเชื่อมต่อแล้ว อุปกรณ์ บ ลู ทู ธ จะมีการจดจำเพื่อทำให้การเชื่อมต่อครั้งถัดไปรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  3. เมื่อขึ้นเชื่อมต่อเรียบร้อยจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ ส่งต่อเสียง เพลง รูปภาพ หรือวิดีโออื่นๆได้
  4. บลูทูธจะมีการเลือกช่องสัญญาณเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจจะมี 25 ช่องและเปลี่ยนใช้เพื่อรองรับความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งานนั่นเอง
บลูทูธ

ความปลอดภัยของระบบ Bluetooth

ถึงแม้จะมีการพัฒนาระบบ Bluetooth มาอย่างต่อเนื่องแต่แน่นอนว่าเรื่องของระบบความปลอดภัยก็อาจจะไม่ได้ 100% มีผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับบลูทูธรุ่นล่าสุด 5.3 ที่มีการอัพเดตล่าสุดเมื่อปี 2564 ไว้ว่า “บลูทูธอาจจะทำให้คุณตกอยู่ในความเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางข้อมูลไซเบอร์ เช่นเดียวกับการใช้Wifi หากไม่ระมัดระวัง” เพราะในบางอุปกรณ์สามารถจับคู่ได้เองโดยอัตโนมัติ แต่บางอุปกรณ์จะต้องใส่ Pin ใส่รหัสผ่านหรือกดยืนยันการเชื่อมต่อ ทำให้เรื่องความปลอดภัยยังเป็นข้อกังขาให้กับผู้ใช้หลายๆคน จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาการเทคโนโลยีชนิดนี้ต่อไป

ประโยชน์ของBluetooth

แน่นอนว่าบลูทูธเป็นการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์แต่ละเครื่องเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ต้องมีตัวกลางเหมือน Wifi ในการต้องเชื่อมสัญญาณ จึงทำให้บลูทูธถูกนำมาใช้งานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปอย่างมากมาย วันนี้เราเลยจะมายกตัวอย่างการใช้บลูทูธในชีวิตประจำวันที่หลายๆคนต้องพบเจอ ดังนี้

  • เมาส์ไร้สาย : ตัว mouse bluetooth เป็นหนึ่งสิ่งที่ชาวพนักงานออฟฟิศต่างก็นิยมใช้งาน เนื่องจากใช้ตัวรับสัญญาณเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังไม่มีสายเมาส์ยาวให้รู้สึกรกพื้นที่บนโต๊ะทำงาน 
  • หูฟังไร้สาย : อีกหนึ่งไอเทมที่นิยมใช้กันในทุกวัย ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน เพราะการใช้หูฟังแบบมีสายอาจจะต้องระมัดระวังว่าจะไปเกี่ยวกับคนอื่นหรือไม่ แต่พอมาเป็นหูฟังบลูทูธก็หมดปัญหานั้นทันที ใช้งานง่าย สายไม่เกะกะ แถมยังมีดีไซน์หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะกับคุณ

Credits : Blogtechtoday
บทความที่คุณอาจสนใจ : keyboard mechanical