รถยนต์ไฟฟ้า คือ อะไร ?
รถยนต์ไฟฟ้า คือ นวัตกรรมยานยนต์ที่เพิ่งมีคนหันมาให้ความสนใจหรือรู้จักเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้นับว่า รถไฟฟ้า เป็นที่ถูกพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างมากขึ้น อีกทั้งยังมีหลายๆยี่ห้อรถยนต์ที่เข้ามาในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อใช้ทดแทนรถยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง และสำหรับเหตุผลหลักๆที่ทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นก็ คือ สามารถลดมลพิษทางอากาศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกันมากขึ้นและหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมไม่เสื่อมโทรมลงไปมากกว่าเดิม
ต้นกำเนิดของ รถไฟฟ้า
ในศตวรรษที่ 20 การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีการพัฒนาจริงจังมากขึ้น โดยมีการวิจัยและพัฒนาของหลายบริษัทในตลาดรถยนต์ รถยนต์ไฟฟ้าแรกที่ได้รับความสนใจในตลาดมวลชนคือ “EV1” ของบริษัท General Motors (GM) ที่ถูกผลิตในปี ค.ศ. 1996. ในช่วงทศวรรษ 20 ได้มีการพัฒนาและการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่เมื่อปีค.ศ. 2003 ทางบริษัทก็มีการระงับการขายรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ตรงกับการค้นพบบ่อน้ำมันแห่งใหม่หลายๆแห่ง จากการค้นพบทำให้ราคาน้ำมันถูกลงอย่างมาก คนจึงหันไปใช้รถยนต์เชื้อเพลิงน้ำมันมากขึ้น จนทำให้บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าแห่งนี้ปิดตัวลงไป ก่อนที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้าจะกลับมาอีกทีเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นก็แสดงให้เห็นว่าอันที่จริงการทำรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้ถือเป็นความรู้ใหม่ไปซะทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็นการนำความรู้เก่า รวมถึงวิทยาการที่มีอยู่มาวิจัยและพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่า และถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการหวนกลับมาของรถยนต์ไฟฟ้าเลยทีเดียว เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นมาก การมีพลังงานทางเลือกนับว่าเป็นเรื่องที่ดีอีกอย่างหนึ่งแถมยังช่วยลดมลภาวะให้กับโลกของเราด้วย
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
ก่อนจะเริ่มซื้อรถไฟฟ้าซักคัน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท เนื่องจากแต่ละประเภทมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว แต่บางประเภทเป็นการใช้ 2 ระบบ คือ ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้าควบคู่กัน ในปัจจุบันมีการแบ่งประเภทรถไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
- รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด Hybrid Electric Vehicle (HEV) : เป็นประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคู่ไปกับการใช้เชื้อเพลิง โดยรถยนต์ประเภท hev จะไม่มีปลั๊กสำหรับชาร์จไฟฟ้า แต่จะเป็นการเปลี่ยนพลังงานโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และเก็บพลังงานไปไว้ในแบตเตอรี่แทน เมื่อมีพลังงานเพียงพอแล้วรถยนต์จะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ที่สะสมไว้มาใช้งาน เพื่อเป็นการลดใช้น้ำมันและลดมลพิษ
- รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด Plug-in Hybrid (PHEV) : สำหรับรถยนต์ประเภท phev มีความคล้ายคลึงกันตรงที่ใช้พลังงานจากทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า แต่จุดที่มีความแตกต่างก็ คือ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ โดยถ้ามีแบตเตอรี่ก็เต็ม 100% การขับเคลื่อนรถยนต์จะไม่ต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงเลย ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด แต่ถ้าหากแบตเตอรี่หมด เครื่องยนต์จะสลับมาใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell Electric Vehicle (FCEV) : รถยนต์ประเภทนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก ซึ่งแหล่งพลังงานที่ได้รับจะมาจากก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนที่ทำปฏิกิริยากัน โดยรูปแบบรถยนต์ fcev ถือว่ายังไม่ค่อยนิยมภายในประเทศไทยมากนัก
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ Battery Electric Vehicle (BEV) : หรือที่หลายๆคนเรียกว่า รถไฟฟ้า ev ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ไม่มีเครื่องยนต์ที่สันดาปและปล่อยไอเสียออกมา มีแบตเตอรี่ไฟฟ้าและปลั๊กชาร์จไฟฟ้า สถานีชาร์จมีอยู่เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งภายในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เดินทางได้ไกล โดย bev นับว่าเป็นรถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในตอนนี้
ราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทย
ราคารถไฟฟ้า ในช่วงแรกที่เปิดตัวอย่างยี่ห้อ Tesla เริ่มต้นกันที่ 1.59 ล้านเลยทีเดียว แต่เมื่อมีคู่แข่งยี่ห้ออื่นๆเข้ามาในตลาดของวงการรถยนต์ไฟฟ้า ก็ทำให้ราคาต้องปรับตัวลง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น อย่างยี่ห้อ BYD รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ราคาถือว่าจับต้องได้ถูกกว่าเทสล่าพอสมควร เนื่องจากราคาเริ่มต้นยังอยู่ที่หลักแสนปลายๆยังไม่ถึงล้าน แถมดีไซน์ยังมีหลากหลาย สีสันน่ารักสมราคา แต่อีกยี่ห้อในวงการ รถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่จะไม่ถูกพูดถึงเลยก็คงจะไม่ได้ก็คือ ora good cat ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มาพร้อมกับดีไซน์น่ารัก แถมยังขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบ100% ใครที่อยากได้ รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แน่นอนว่า ora good cat เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว โดยราคาจะอยู่ที่ 9xx,xxx บาท ไปจนถึง1ล้าน
ข้อดีในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า
- ประหยัดค่าใช้จ่าย : เนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้า สามารถชาร์จด้วยไฟบ้านได้เลย ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเหมือนรถเบนซินหรือดีเซล ทำให้ราคาถูกลงกว่ามาก
- ช่วยลดมลพิษ : อีกหนึ่งวัตถุประสงค์ของรถยนต์ไฟฟ้า ก็เพื่อลดมลภาวะในอากาศ เนื่องจากไม่เกิดการเผาไหม้หรือการสันดาปของเครื่องยนต์ ทำให้ไม่มีควันหรือไอเสียออกมานั่นเอง
- บำรุงรักษาง่าย : เพราะไม่มีเครื่องยนต์ ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามรอบ ดูแลง่ายแถมยังประหยัดค่าดูแลรถในส่วนนี้ไปได้อีกด้วย
Credits : Blogtechtoday
บทความที่คุณอาจสนใจ : ระบบAi