telemedicine คือ การหาหมอแบบไหน ?
telemedicine คือ การให้บริการทางการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารไกล เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ป่วยและแพทย์สามารถสื่อสารกันและให้คำปรึกษาทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องพบหน้ากันที่สถานพยาบาลเพียงอย่างเดียว สำหรับการใช้งานที่เป็นที่นิยมมากในระบบ telemedicine ได้แก่ การปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์ (online consultation) การใช้วิดีโอคอล (video call) หรือการส่งข้อมูลการตรวจร่างกายเช่น ภาพถ่าย หรือข้อมูลการตรวจสุขภาพผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหรือให้คำปรึกษาเพิ่มเติมได้
สำหรับใครที่ไม่สะดวกเดินทางไปโรงพยาบาลการ หาหมอออนไลน์ นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อย่างมากในยุค 4.0 เพราะจะหมดปัญหาการใช้เวลาในการเดินทางไปหาหมอนานหรือโรงพยาบาลอยู่ไกล เพราะเพียงแค่เลือก โทร ปรึกษา หมอ ผ่านระบบ เทเลเมดิซีน ก็จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างตรงจุดนั่นเอง
ที่มาของระบบ telemedicineคือ อะไร ?
สำหรับในต่างประเทศมีการใช้เทคโนโลยี telemed กันมาอย่างยาวนานแล้ว ก่อนที่ทางประเทศไทยจะนำมาปรับใช้ในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงการระบาดของ Covid-19 เป็นอีกหนึ่งช่วงที่ทำให้การโทรปรึกษาแพทย์ออนไลน์เริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้น เพราะ เทเลเมด คือ สื่อกลางที่ทำให้คนไข้สามารถติดต่อกับแพทย์ได้โดยตรง อีกทั้งยังเป็นการเว้นระยะห่างในการรักษาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิดได้ แต่หลังจากช่วงที่การระบาดลดลง การหาหมอออนไลน์ก็มีหลายๆโรงพยาบาลนำไปทำเพื่อรองรับคนไข้ที่ไม่สามารถโรงพยาบาลได้ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากที่สุด
Telehealth Vs Telemedicine เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
จริงๆแล้ว Telehealth เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีทางการแพทย์ผ่านระบบการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษากับคนไข้ หรือการปรึกษาทางการแพทย์ระหว่างแพทย์กันเอง รวมถึงการให้บริการการให้คำปรึกษาจากโรงพยาบาลศูนย์สู่ศูนย์บริการขนาดเล็กที่อาจจะต้องการคำปรึกษาหรือคำแนะนำในการ ซึ่งระบบtelehealth ก็ได้ถูกนำไปต่อยอดเป็นเทเลเมดนั่นเอง อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้คัดกรองผู้ป่วยก่อนถึงสถานพยาบาลเพื่อให้ทางทีมรักษาที่อยู่ทางโรงพยาบาลสามารถเตรียมรับมือกับผู้ป่วยก่อนถึงได้ เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที
ประโยชน์ของ Telemedicine มีอะไรบ้าง ?
- ความสะดวกสบายสำหรับผู้ป่วย : ผู้ป่วยสามารถรับบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือคลินิก ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกล
- ลดความแออัดที่โรงพยาบาล : Telemedicine ช่วยลดเวลารอคอยในการนัดหมายกับแพทย์ โดยทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาและวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น ไม่ต้องไปนั่งรอกันที่โรงพยาบาล
- เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ : การใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการให้บริการทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ : การใช้บริการ Telemedicine อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเวลาที่ใช้ในการรอคอยในโรงพยาบาลหรือคลินิก
- การเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพ : การใช้ Telemedicine ช่วยให้ทีมแพทย์สามารถทำงานร่วมกันได้มากขึ้น และให้คำแนะนำที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วยโดยทันที
สำหรับ telemedicine ข้อเสีย ก็คงมีเพียงแค่การที่ไม่สามารถรักษาโรคที่มีอาการป่วยหนัก หรือโรคที่จำเป็นต้องการทำหัตถการ สามารถรักษาและให้คำแนะนำได้เฉพาะโรคที่มีความเจ็บป่วยแบบที่ไม่จำเป็นต้องทำหัตถการเท่านั้น
Telemedicine ในไทยมีที่ไหนบ้าง
อย่างที่บอกว่า telemedicine โรงพยาบาล หลายๆแห่งได้เริ่มนำไปใช้งานกันบ้างแล้ว อาทิ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกรุงเทพ และโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงยังมีโรงพยาบาลอื่นๆอีกมากมาย ที่ไม่ได้กล่าวถึง อีกทั้งยังมีแอพพลิเคชั่นในการปรึกษาแพทย์ทั้งทางเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ แอพพลิเคชั่น raksa , Samitivej Virtual Hospital , BPK Connect เป็นต้น นับว่าเป็นการใช้งานเทคโนโลยีกับการดูแลสุขภาพที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว
Credit : Blogtechtoday
บทความที่คุณอาจสนใจ : True Dtac ควบรวม
บทความที่เกี่ยวข้อง : Kia Carnival