ย้อนรอย True Dtac ควบรวม กิจการ
ถือว่าเป็นประเด็นร้อนที่น่าสนใจในประเทศไทย สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเจ้าใหญ่ที่หันมาจับมือควบรวมกิจการกันของ true dtac ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางการคัดค้านจากคนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเล็งเห็นว่าถ้าหาก true dtac ควบรวม กันแล้ว จำนวนคู่แข่งในวงการผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์จาก 3 เจ้า จะเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่ๆเท่านั้น เรียกได้ว่าน้อยลงจนแทบจะไม่มีตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเลย นับว่าเป็นผลเสียทางตรงกับผู้บริโภคที่ไม่สามารถต่อรองอะไรได้เลย หลังจากผ่านการประชุมกันมาอย่างยาวนานของ กสทช (กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ในที่ประชุมมีเสียงข้างมากลงมติอนุมัติให้ทรูและดีแทค ให้สามารถควบควมได้และไม่ถือว่าเป็นกิจการผูกขาด และจากนั้นได้มีการควบรวมกิจการทั้งสองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา
มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรบ้าง ?
แน่นอนหลังปิดดีลใหญ่งบกว่าแสนล้านของ ว่าเมื่อรวมเป็นบริษัทเดียวกันแล้วจะอยู่ภายใต้ชื่อบริษัท บริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) มาในภายใต้สโลแกน “better together” และได้เปลี่ยนชื่อหลักทรัพย์จากเดิม TRUE เป็น TRUEE ทั้งสองบริษัทที่ควบควมกันมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ และพัฒนาธุรกิจ E-commerce ภายในประเทศไทย เพื่อให้รองรับกับเทรนด์ในอนาคตอย่าง ioT ,Ai และอื่นๆ รวมถึงต้องการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถเป็น Digital Hub ในด้านการลงทุนได้อีกด้วย
หลังจากการควบรวมแล้วข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน ?
การ ควบรวมกิจการทรูดีแทค แน่นอนว่าต้องมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากตัวผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง มาดูกันว่าข้อเสียหลักๆที่เรามองเห็นมีอะไรบ้าง
- สินค้าและบริการราคาแพงขึ้น : ซึ่งก็คือแพคเกจอินเตอร์เน็ตมือถือ เราอาจจะจ่ายเงินจำนวนเท่าเดิมแต่ได้การบริการที่ลดน้อยลงหรือไม่เท่าเดิมนั่นเอง
- ผู้ผลิตขาดการพัฒนาตัวเอง : การที่มีคู่แข่งในตลาดน้อยจะทำให้ผู้ผลิตไม่มีการพัฒนาตัวเอง ไม่มีแรงจูงใจในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริโภคอาจจะเสียโอกาสในการได้ใช้นวัตกรรมหรืออะไรดีๆในอนาคต
- ต้นทุนการใช้ชีวิตสูงขึ้น : ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่ ควบรวมทรูดีแทค จะทำให้มีโอกาสเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้่น เนื่องจากปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนเรียกได้ว่าจำเป็นต้องใช้ แต่เรามีโอกาสที่จะจ่ายเงินเยอะแต่ได้รับบริการไม่ดีเท่าเงินที่จ่ายไป
- เกิดคู่แข่งได้ยาก : การที่ธุรกิจมีคู่แข่งน้อย จนแทบจะเป็นตลาดผูกขาดแบบในกรณีนี้ ทำให้รายใหม่ๆเข้ามาแข่งขันได้ยากขึ้นอาจจะทำให้เกิดตลาดผูกขาด ที่ไม่เพียงแต่เป็นค่าบริการโทรศัพท์มือถือแต่อาจจะเป็นอย่างอื่นตามมาได้อีก
เสียงสะท้อนของผู้บริโภคหลังจากควบรวม
สำหรับปัญหาหลักๆของ true-dtac ล่าสุด ที่ผู้บริโภคได้มีการพูดถึงกันเป็นจำนวนมากที่สุดคงไม่พ้น เน็ตทรูช้า หรือ เน็ต dtac ช้า ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนที่เกิดขึ้นหลังการควบรวม เนื่องจากก่อนการควบรวมไม่ได้รู้สึกช้าขนาดนี้ อีกทั้งสัญญาณยังหลุดบ่อย เล่นเน็ตได้ ซักพักก็เน็ตหาย ซึ่งหลังการควบรวมแล้วรู้สึกช้ากว่าเดิมมาก แถมแพคเกจเน็ตก็มีตัวเลือกน้อยลง ราคาแพงขึ้น จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคจำนวนถึงร้อยละ 81 ที่ได้รับผลกระทบ นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทางบริษัทจะต้องเร่งหาทางแก้ไข
ตามกำหนดแล้วหลังการควบรวม เน็ตtrue และ เนต ดีแทค มีเงื่อนไขการควบรวม TRUE-DTAC ที่พ่วงมากับมติของ กสทช. ที่กำหนดต้องดำเนินการภายใน 90 วัน หลังควบรวมสำเร็จ คือ อัตราค่าบริการต้องลดลงเฉลี่ยลง 12% ทันทีโดยไม่มีข้ออ้าง ในเมื่อเป็นแต่เวลานี้เลยกำหนดมาแล้ว แต่กลับยังเห็นการเพิกเฉย อีกทั้งยังมี Feedback จากผู้บริโภคบางส่วนว่ามีการจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นแต่เน็ตช้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนกันเข้ามามากที่สุด
True แจ้งข้อเท็จจริงจากกรณีลดเสาสัญญาณเพื่อลดต้นทุน
ข่าวควบรวม true dtac ล่าสุด คือ มีการลดจำนวนเสาสัญญาณภายในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อลดต้นทุน เป็นเหตุที่ทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตช้าลง แต่ทางบริษัท ทรู คอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) ได้ออกมาปฏิเสธ ว่าไม่ได้มีการรื้อถอนเสาสัญญาณแต่อย่างใด มีเพียงการปรับเสา (Tower) บางแห่งที่อยู่ในจุดพื้นที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ทั้งยังมีการปรับปรุงสัญญาณเพื่อให้ดีขึ้น มีการติดตั้ง ด้วยเทคโนโลยี Single Grid คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งประเทศภายในปี 2568 ซึ่งก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไปว่าแนวโน้มของสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะดีขึ้นจริงหรือไม่
Credit : Blogtechtoday
บทความที่คุณอาจสนใจ : กล้องดิจิตอลเก่า