uav คือ เทคโนโลยีแบบไหนมีเพื่ออะไร ?
UAV ย่อมาจาก Unmanned Aerial Vehicle ซึ่งในภาษาไทยหลายๆคนอาจจะคุ้นหูกันว่า “โดรน” หรือ “เครื่องบินไร้คนขับ” นั่นเอง uav คือ อากาศยานที่ไม่มีคนขับอยู่ในนั้น และสามารถถูกควบคุมได้ทางไกลหรือโดยใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจหลายๆส่วน อีกทั้งยังมีหน้าที่ทั้งใช้ในการทหาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแรกของการใช้โดรน เพื่อใช้ในการระบุพิกัด หรือทำการสอดแนมเพื่อให้ได้ข้อมูล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก หรือเพื่อกิจกรรมทางการเกษตร การแข่งขันกีฬา ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมใหม่จากโดรนเช่นกัน ถึงแม้ว่าโดรนจะมีการคิดค้นและพัฒนามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้ในภารกิจทางการทหารโดยเฉพาะ ในปัจจุบันการใช้โดรนไม่ได้ถูกกำจัดไว้แค่ในกองทัพ แต่ยังรวมถึงคนธรรมดาทั่วไปอีกด้วย
uav คือ อะไร ? แล้วประเภทของโดรนที่ใช้มีอะไรบ้าง
- 1.Quadcopter : เป็นประเภทหนึ่งของโดรนที่มีลักษณะมีสี่ขาและสี่ใบพัดพลังงาน (rotors) การที่มีใบพัดอยู่ที่มุมทั้ง 4 ทำให้สามารถควบคุมและปรับทิศทางได้ด้วยการเพิ่มหรือลดความเร็วได้อย่างง่ายดาย มักถูกใช้ในการถ่ายภาพวิดีโอมากที่สุด
- 2.GPS Drone : โดรนประเภทนี้จะติดตั้งระบบ GPS (Global Positioning System) เอาไว้ สำหรับใช้ประโยชน์กับสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่นการตั้งพิกัดเพื่อบินอัตโนมัติสำหรับโดรนการเกษตร สามารถใช้การบินแบบ Waypoint เพื่อกำหนดระยะทางได้อย่างอัตโนมัติ หากโดรนหายก็สามารถตามหาจากพิกัด GPS โดยใช้สัญญาณของดาวเทียมได้
- 3.RTF Drone( Ready to Fly Drone ) : ชื่อก็บอกอยู่ตรงตัวว่าสามารถใช้งานได้ทันที เพียงแค่หยิบมันออกมาจากกล่อง และชาร์ตแบตให้เต็ม ก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากหัดใช้โดรน เนื่องจากไม่ต้องเซตระบบอะไรมาก สามารถใช้ บินโดรน ได้ทันที
- 4.Trick Drone : หรือมีอีกชื่อว่า Stunt drone โดรนขนาดเล็กสำหรับฝึกบินทำทริคเล่นท่าง่ายๆ ขนาดเล็กเพียงความกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตรเท่านั้น ขึงทำให้มีความคล่องตัวสูงจึงสามารถบังคับให้เล่นท่าได้
- 5.Helicopter Drone : ใช้ใบพัดขับเคลื่อนเพียงอันเดียว ทำให้มีลักษณะการบินแบบหมุนรอบ (rotary-wing) มีข้อดีตรงที่ใช้พลังงานน้อย แต่ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะควบคุมทิศทางได้ค่อนข้างยาก
- 6.Delivery Drone : ออกแบบมาสำหรับขนส่งสิ่งของโดยเฉพาะ สิ่งที่โดรนชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่น คือ ต้องมีพื้นที่สำหรับใส่สินค้าเพื่อขนส่ง ซึ่งมองว่าในอนาคตอาจจะเข้ามาเป็นรูปแบบธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจเลยทีเดียว
- 7.โดรนสำหรับถ่ายภาพ : เครื่องบินโดรน ชนิดนี้มักจะมาพร้อมกล้องที่มีความละเอียดสูง สามารถเก็บภาพได้อย่างดี ซึ่งสามารถสั่งงานผ่านแท็บเล็ตหรือรีโมทคอนโทรลได้
- 8.โดรนสำหรับแข่ง : อย่างที่บอกว่าในปัจจุบันโดรนถูกนำเข้ามาเป็นกีฬาการแข่งขันประเภทหนึ่ง ซึ่งโดรนชนิดนี้มักจะถูกปรับแต่งให้มีความคล่องตัว เพื่อให้สามารถเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว
- 9.โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน : เป็นโดรนที่ใช้พลังงานน้ำมันแทนการใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า ไม่ค่อยนิยมในการใช้เป็นวงกว้างเท่าไหร่นัก เพราะมีข้อเสีย คือ เรื่องน้ำหนัก
- 10.โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมันไนโตร : คล้ายกับโดรนที่ใช้น้ำมัน แต่เปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันไนโตรโดรนแทน โดยน้ำมันไนโตรผสมไนโตรมีเทนกับเมทานอล เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนที่มากขึ้นสำหรับโดรน แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งานพอๆกับการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีข้อกำจัดหลายอย่าง
- 11.โดรนแบบบินได้นาน : ถูกออกแบบมาเพื่อการสำรวจและการเฝ้าระวัง มักจะถูกใช้ในทางการทหารเป็นส่วนมาก สามารถบินได้สูงหลายพันฟุตและสามารถบินได้ยาวนานกว่า อากาศยานไร้คนขับ ประเภทอื่นๆ
การบินโดรนต้องขอใบอนุญาตด้วยจริงหรือไม่ ?
คำตอบ คือ จริง หลายๆคนอาจจะงงหรือสงสัยว่าทำไมถึงต้องขออนุญาตด้วยอย่างแรกเลยคือ เป็นข้อกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้เพื่อให้คนที่จะบินต้องมาทำ ใบอนุญาตบินโดรน ก่อน เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย พูดให้เข้าใจกันง่ายๆก็เหมือนการทำใบขับขี่นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบต่อผู้ที่ใช้โดรน และก็เพื่อให้ไม่ละเมิดกฎหมาย หากใครแอบไปบินโดรนโดนที่ยังไม่มีใบอนุญาตบอกเลยว่าค่าปรับทำเอาขนลุกแน่นอน ทางที่ดีคือทำให้ถูกต้องจะได้ไม่มีอะไรต้องกังวล โดยหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานมีอายุ 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
โดรนแบบไหนที่ต้องทำการขึ้นทะเบียน
- โดรนที่มีกล้องบันทึกภาพและวิดีโอต้องลงทะเบียนทุกกรณี
- โดรนที่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมต้องลงทะเบียนทุกกรณี
- โดรนที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม ต้องได้รับหนังสืออนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ต้องขอใบอนุญาตบินโดรนที่หน่วยงานไหน ?
สำหรับการขอ ขึ้นทะเบียนโดรน หรือ อากาศยาน ไร้ คน ขับ ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ต้องขึ้นทะเบียนอยู่ 2 หน่วยงาน คือ CAAT และ กสทช. ซึ่งการขึ้นทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงานจะไม่เหมือนกัน เพราะที่ CAAT เป็นการขึ้นทะเบียนผู้บังคับใช้อากาศยาน (โดรน) แต่หน่วยงาน กสทช. เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ จำเป็นต้องลงทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงาน โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.caat.or.th/uav โดยการลงทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 15 วันทำการ
Credit : Blogtechtoday
บทความที่คุณอาจสนใจ : Chat gpt คือ